วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

กลุ่มสมุนไพรโฆระ

สมุนไพรโฆระ (ชื่อวิชา)

สายพันธุ์       : วัชพืช(???)

สรรพคุณ      : ใช้ประกอบโฆรมนตร์สำหรับการล่องหนหายตัว และใช้

                 ประกอบมนตร์(ไม่ทราบวิชา)เพื่อให้มองเห็นผู้ใช้โฆรมนตร์เพื่อ

                ล่องหนหายตัว


สถานที่ค้นพบ : พบได้ทั่วไปในแดนหิมพานต์


กลุ่มสมุนไพรที่ใช้ประกอบวิชาโฆระ(บางชนิด)


  สมุนไพรในกลุ่มนี้ เป็นพืชที่มีรากขนาดเล็กประมาณฝ่ามือ(อาจเล็กรึ

ใหญ่กว่าฝ่ามือนิดหน่อย) มีหลายสายพันธุ์ และมีอยู่ทั่วไปในแดนหิมพานต์

หากดูเผินๆจะคิดว่าเป็นวัชพืชทั่วไป แต่เป็นที่นิยมของเหล่าวิทยาธรและอมนุษย์

ผู้อาศัยในแดนหิมพานต์ทั้งหลาย(คือชาวจาตุมหาราชิกาทั้ง ๔ กลุ่มเป็นหลัก

มีพวกยักษ์นิยมใช้มากที่สุด) ฯ

  วิธีใช้(เพื่อล่องหน)

๑. ถือส่วนรากของสมุนไพรเหล่านี้ไว้ในมือ(วิทยาธรบางตนก็ใช้วิธีพนมมือหุ้ม

    รากไม้ไว้เลย เป็นนัยว่ากันรากไม้หล่นหาย)

๒. ร่ายมนตร์ปลุกรากไม้ที่ถือไว้ในมือนั้น(ซึ่งเหล่าวิทยาธรไม่ยอมเปิดเผย

    วิชาเช่นเคย)


เมื่อทำถูกต้องตามลำดับขั้นตอน เพียงเท่านี้ก็สามารถหายตัวได้ จะเดินไป

แห่งหนใด หากยังถือรากไม้ไว้ในมือ ผู้ใดก็ย่อมมองไม่เห็นแล ฯ


  *เหล่าวิทยาธรเรียกรากไม้ที่ทำการเสกแล้วว่า รากยา และเรียกวิธีการร่าย

มนตร์ปลุกรากยาเพื่อใช้ในการล่องหนว่า วิชาโฆระ(โฆรมนตร์) ฯ



หากต้องการใช้รากยาเพื่อมองหาผู้ใช้โฆรมนตร์ ให้เปลี่ยนมนตร์ที่ใช้เสกใส่รากยา

*เหล่าวิทยาธรเองก็มีวิชาที่ทำให้ผู้ถือรากไม้สามารถมองเห็นเหล่าอมนุษย์ได้
เช่นกัน แต่วิชาเหล่านั้น ก็ไม่เป็นที่เปิดเผยเช่นเคย ฯ

ข้อควรระวังในการใช้วิชาโฆระ

เนื่องจาก การใช้วิชาโฆระนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้รากยาอยู่ในมือ

ตลอดเวลา หากพลาดพลั้งทำรากยาหลุดมือตกหาย วิชาโฆระจะเสื่อมทันที

ส่วนกรณีการใช้รากยาเพื่อเป็นประโยชน์ด้านตาทิพย์ในการมองหาอมนุษย์นั้น

เมื่อรากยาหลุดจากมือแล้ว อานุภาพการมองเห็นอมนุษย์ทั้งหลายจะยังคงอยู่

จนกว่าผู้ที่เคยถือรากยาจะหลับตารึกระพริบตา(เมื่อลืมตาขึ้น เหล่าอมนุษย์ทั้ง

หลายจะหายไป) ฯ


  หากว่ากันตามจริง วิชาโฆระ ใช้เพียงส่วนของรากไม้มาทำเป็นรากยาเท่านั้น

แต่วิทยาธรส่วนมากก็นิยมถอนสมุนไพรนั้นไปใช้ทั้งต้น แม้แต่ใบของต้นสมุนไพร

ก็ไม่ยอมเด็ดทิ้ง (ก็ไม่รู้ว่าทำไมถึงขี้เกียจกันได้ขนาดนี้)

  สัตว์หิมพานต์บางชนิด สามารถใช้รากยาเหล่านี้ในการล่องหนได้ โดยการ

เคี้ยวและอมรากยาไว้ในปาก(สัตว์บางชนิดก็ใช้วิธีคาบไว้ให้แน่น) และหาก

ผลอทำรากยาหลุดออกจากปาก รึเผลอกลืนลงท้องไป อำนาจการล่องหน

ก็จะเสื่อมทันทีเช่นกัน ฯ

วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ต้นยาสี่วิสุทธ

ต้นยาสี่วิสุทธ (ประกอบด้วย ต้นสมุนไพรทั้งหมด ๔ ชนิด)


สายพันธุ์       : โสมมนุษย์(โสมคน)

สรรพคุณ      : รักษาเยียวยาและฟื้นฟูสภาพร่างกายระดับสูง

สถานที่ค้นพบ : พบได้ทั่วไปในแดนหิมพานต์ แต่มีมากและครบถ้วนที่สุด

                 ลานสรรพยา(อีกสถานที่ที่มีต้นยาครบทั้ง๔ คือ เขาคันธทาทน์)


๑. ต้นยาวิศัลยกรณี

  หากถูกสิ่งแปลกปลอมรึศาตราวุธใดทำให้เกิดอาการบาดเจ็บ และสิ่งแปลก

ปลอมเหล่านั้นฝังตัวอยู่ในบริเวณปากแผลโดยไม่สามารถนำออกจากร่างกายได้

ต้นยาวิศัลยกรณีนี้มีคุณสมบัติในการถอดถอนขับดันสิ่งแปลกปลอมเหล่านั้น

ออกจากบาดแผลได้โดยไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดใดๆ ฯ


๒. ต้นยามฤตสัญชีวนี

  ต้นยาชนิดนี้มีสรรพคุณล้ำเสิศยิ่ง สามารถทำให้ผู้ซึ่งปราศจากชีวิตแล้ว

กลับฟื้นขึ้นได้ รวมถึงเหล่าผู้ตกอยู่ในสภาวะจำศีลระดับลึก จากการถูก

คำสาป พิษนาค ฯลฯ ซึ่งผู้ตกอยู่ในอาการเหล่านี้ สามารถอยู่ในอาการหลับลึก

ได้นานหลายปีโดยไม่ต้องกินอาหารและน้ำ ทั้งยังมีการหายใจที่แผ่วเบามากและ

หัวใจก็เต้นช้ามากจนไม่อาจตรวจหาสัญญาณชีพได้ ผู้ตกอยู่ในอาการเหล่านี้

สามารถใช้สมุนไพรชนิดนี้รักษาอาการได้เช่นกัน ฯ

๓. ต้นยาสันธยาณี

  ต้นยาชนิดนี้ มีสรรพคุณในการเยียวยาบาดแผลต่างๆให้หายสนิท ไม่ว่าจะเป็น

แผลเล็ก แผลใหญ่ แผลลึก แผลตื้น ต้นยาชนิดนี้ สามารถรักษาอาการได้ทั้งสิ้น ฯ

๔.ต้นยาสวรรณกรณี


  ต้นยาชนิดนี้ มีคุณสมบัติด้านการบำรุงผิวพรรณให้แช่มชื่นเปล่งปลั่งสดใส

มีน้ำมีนวล สามารถลบทั้งริ้วรอยและร่อยรอยของแผลเป็นได้ชะงัดนัก ฯ

ต้นยาสวรรณกรณี มีอีกชื่อหนึ่งว่า "สังกรณี" ฯ



  ต้นยาทั้ง ๔ นี้สามารถเคลื่อนไหวใต้ผิวดินได้อย่างอิสระไม่ต่างจากการดำผุด

ดำว่ายใต้ผืนน้ำ เมื่อถูกร้องเรียกจะส่งเสียงขานรับเป็นปฏิกิริยาตอบโต้ แต่เมื่อ

ผู้ออกค้นหาร้องเรียกและเดินตามเสียงขานรับ สมุนไพรเหล่านี้จะดำดินหนีไป

อยู่ตามจุดต่างๆทั่วบริเวณภูเขา(บริเวณที่ถือกำเนิด) จึงยากที่จะจับตัวได้ ฯ

  วิธีการจับสมุนไพรทั้ง๔ นั้นมีหลากหลาย แต่ทุกวิธีนั้นต้องใช้วิทยาคม 

คาถา และนานาปัจจัยเข้าร่วมเป็นองค์ประกอบ


วิธีทำน้ำอมฤต(สูตรใหญ่)

  ต้นยาทั้ง๔ นี้ต้องนำมาใช้ปรุงยาร่วมกัน จึงจะเกิดสรรพคุณสูงสุด โดยการนำ

มาบดคั้นน้ำผสมรวมกับกระสายยานานาชนิดทำเป็นน้ำอมฤตใช้ประพรมชโลม

ลงในบาดแผลเพื่อถอดถอนอาวุธฟื้นคืนชีวิตและรักษาบาดแผล รึใช้ประพรม

ชโลมร่างกายผู้ปราศจากชีวิตเพื่อให้ฟื้นคืนชีพและสร้างความสดชื่นฟื้นตัวให้กับผู้

ตกอยู่ในอาการปราศจากชีวิตนี้ได้เช่นกัน ฯ


วิธีทำน้ำอมฤต(สูตรเล็ก)

  อนึ่ง ในกรณีที่ถูกศาสตราวุธวิเศษผนึกติดอยู่กับร่างกายโดยไม่สามารถ

ถอนออกได้ ทว่าไม่ถึงขั้นสลบไสลปราศจากชีวิต ก็สามารถนำสมุนไพร

อีก ๓ ชนิด คือ วิศัลยกรณี, สันธยาณี, สวรรณกรณี มาหมักดองรวมกันเพื่อ

ทำเป็นน้ำส้มสายชู เมื่อนำน้ำส้มสายชูที่หมักดองจากสมุนไพรทั้ง๓ นี้ไปรด

บริเวณบาดแผล ศาสตราวุธที่ผนึกติดอยู่กับร่างกายนั้นจะหลุดออกได้โดยง่าย

และบาดแผลทั้งหลายจะฟื้นตัวคืนสภาพปกติไร้ร่องรอยแผลเป็นให้ปรากฏ ฯ



  อนึ่ง น้ำอมฤตนี้ นอกจากการใช้รดบริเวณบาดแผลเพื่อการเยียวยาแล้ว ยัง

สามารถใช้ดื่มเพื่อบำรุงร่างกายได้ด้วย แต่กระนั้น การดื่มน้ำอมฤตก็ยังมีทั้ง

คุณสมบัติและข้อควรระวังในการดื่ม มีดังนี้

๑. มีความเย็นมาก เมื่อดื่มแล้วอาจกำจัดโรคาพยาธิไข้ในกายให้หายขาด

    มีอายุยืนยาวต่อไปได้
๒. มีรสหวาน หากนำน้ำอมฤตไปผสมในยาพิษที่มีปริมาณมากกว่าจะมีรสขม

     แต่หากผสมในยาพิษที่มีปริมาณน้อยกว่า ยาพิษนั้นจะกลายเป็นรสหวาน

     (พิษจางลง)
๓. หากดื่มในปริมาณที่ไม่เหมาะสม คนดื่มอาจถึงตาย (ดุจผู้ไม่รู้จักประมาณ

    ตน กินอาหารมากเกินไป ก็ถึงแก่ความตายได้ [น้ำอมฤตเป็นยาแรง หาก

    ดื่มมากเกินไปร่างกายจะปรับตัวรับฤทธิ์ยาไม่ทันจนถึงแก่ความตาย  แต่ถ้า

    ดื่มน้อยเกินไปก็ไม่มีผล] )


  เนื่องจากสมุนไพรทั้ง ๔ ชนิดนี้นิยมใช้ปรุงยาร่วมกันเป็นปกติ สมุนไพร

ทั้ง ๔ ชนิดนี้ จึงมีอีกชื่อ เรียกว่า "สังกรณี-ตรีชวา"
                                                                                              

*ตรีชวา คือ คำเรียกกลุ่มสมุนไพร อีก ๓ ชนิด คือ ศัลยกรณี, มฤตสัญชีวนี, สันธยาณี

                                                                                              


ข้อมูลเบื้องต้นของ ลานสรรพยา

สถานที่ตั้ง : ภูเขาลูกแห่งหนึ่งในแนวขุนเขาจูฬกาฬ

  ลานสรรพยา คือยอดเขาแห่งหนึ่งซึ่งมีสภาพเป็นลานกว้างขนาดใหญ่ พื้นผิว

ค่อนข้างราบเรียบและนุ่มฟู ยืดหยุ่นดุจพื้นหนังกลองที่ขึงไว้จนตึง

คำว่า "ลานสรรพยา" เป็นชื่อที่เหล่าวิทยาธรชาวหิมพานต์เป็นผู้ตั้งขึ้น ส่วน

สาเหตุที่ยอดเขานี้มีสภาพราบเรียบดุจถูกตัดไปจนกลายเป็นลานกว้างขนาด

ใหญ่นี้ เหล่าวิทยาธรอธิบายว่า


  แต่เดิมนั้น ภูเขาแห่งนี้ มียอดเขาเหมือนภูเขาทั่วไป เป็นภูเขาที่อุดมไปด้วย

พืชสมุนไพรนานาชนิด(แต่ก็ยังนับว่าน้อยกว่าภูเขาคันธมาทน์) ครั้งหนึ่งมี

ทหารเอกผู้มากฤทธิ์มาตามหาสมุนไพรที่ภูเขาแห่งนี้ ทว่าสมุนไพรนั้นหลบหนีไป

ซ่อนตัวบริเวณยอดเขาจึงไม่อาจนำสมุนไพรกลับไปได้ ด้วยความที่เป็นภารกิจ

เร่งด่วน ทหารเอกผู้นั้นจึงจำต้องใช้ฤทธิ์ของตนตัดยกเอาส่วนยอดของภูเขา

ลูกนี้ไปเพื่อให้โหราจารย์ผู้เชี่ยวชาญในกองทัพค้นหาตัวสมุนไพรที่ต้องการ

ออกมาประกอบยาตามต้องการ บริเวณยอดเขาแห่งนี้จึงมีสภาพราบเรียบมา

จนถึงทุกวันนี้ ฯ